ชื่อเรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา
ชื่อผู้วิจัย นางมยุรี
สายรัตน์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ
หน่วยงาน โรงเรียนชุมชนบ้านยางกู่
ปีที่ศึกษา 2555
บทคัดย่อ
จิตตปัญญาศึกษาเป็นการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงแบบหนึ่งที่มุ่งเน้นพัฒนาด้านในและการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในตนเองอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้เกิดปัญญา และการเข้าถึง
ความจริง ความดี และความงาม
ทั้งในตนเองและสรรพสิ่งต่างๆ ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เรื่อง
การออกแบบ ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2)
เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา 3)
เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา และ 4) เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา
กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนชุมชนบ้านยางกู่ อำเภอธวัชบุรี
จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 27 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ามี 4 ชนิด ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา จำนวน 6
แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ชนิดเลือกตอบ 4
ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 3) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์โดยการวาดภาพเป็นแบบรูบริค (Rubric Scale) 5 ระดับ และ 4) แบบบันทึกการถอดบทเรียน(อนุทิน)ของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้
1. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ
85.27/84.07 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.7014 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนร้อยละ 70.14
3. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาพบว่า
มีความคิดสร้างสรรค์หลังจากเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก
4. ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ทำให้นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงตนเองในการเข้าถึงความจริง ความดี
และความงาม เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆในการออกแบบ
ปฏิบัติการออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานได้ตามจินตนาการ และเกิดความคิดสร้างสรรค์ โดยมีการพิจารณาด้วยใจอย่างใคร่ครวญ อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับตนเอง ในบรรยากาศที่สงบ ผ่อนคลาย
มีสมาธิและความตระหนักรู้
มีความประพฤติที่ดีขึ้น
เกิดความรักความเมตตา
ความเข้าใจและการยอมรับซึ่งกันและกัน
มีการเชื่อมโยงความรู้ที่ได้รับเข้ากับชีวิต ระหว่างความคิด อารมณ์และการการะทำ โดยได้เข้าเผชิญกับการปฏิบัติกิจกรรมรูปแบบต่างๆตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่องลื่นไหล เกิดความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง
และเกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มในขณะนำเสนอผลงานและการจัดนิทรรศการ จากกระบวนการดังกล่าว ทำให้นักเรียนมีสติในการปฏิบัติงาน เกิดสมาธิ
เกิดการเรียนรู้และได้นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และนักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงตนเอง
ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้ครูนำรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นี้ไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียนให้สูงขึ้นต่อไป